LevelUp! Studio » tax https://blog.levelup.in.th Experience the new world. Fri, 26 May 2017 10:06:07 +0000 th hourly 1 http://wordpress.org/?v=3.8.1 การยื่นแบบภาษี ภงด.91, 90 ให้พนักงานในฐานะนายจ้าง และวิธี setup โปรแกรมยื่นภาษีใน Windows 7 https://blog.levelup.in.th/2012/03/21/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-%e0%b8%a0%e0%b8%87%e0%b8%9491-90-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%9e/ https://blog.levelup.in.th/2012/03/21/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-%e0%b8%a0%e0%b8%87%e0%b8%9491-90-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%9e/#comments Wed, 21 Mar 2012 15:39:14 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=1514 ปีนี้เป็นปีแรกที่ทดลองยื่นผ่านเน็ต พอดาวน์โหลดโปรแกรมมาเสร็จปุ๊บก็ได้เรื่องเลยทีนี้ เปิดไม่ขึ้น – -” สำหรับใครที่ใช้ Windows 7, Vista อยู่ลองอ่านดูเผื่อจะช่วยได้ครับดังนี้ (จริงๆ กรอกในเว็บโดยตรงก็ได้ แต่ถ้า net ดับ session หลุด timeout บลาๆๆๆ จะเศร้าได้ แนะนำให้กรอกผ่านโปรแกรมดีกว่า เวลายื่นผ่านเน็ตก็แค่ upload ขึ้นไปก็เรียบร้อย)

  1. User ใน Windows ของผู้ใช้งานโปรแกรมนี้ต้องมีสิทธิการใช้งานระดับ Administrator เท่านั้น
  2. เพิ่ม Region and Language ใน start menu แล้วเลือกแท๊ป Administrative -> Language for non-Unicode programs เลือกเป็น Thai และแท๊ป Location เลือก Thailand จะช่วยให้ไม่มีปัญหาภาษาต่างดาวเวลาเปิดโปรแกรม
  3. ดาวน์โหลดโปรแกรมช่วยกรอกได้ที่นี่ http://rdserver.rd.go.th/publish/page901_ty54.htm (ภงด.91, ภงด.90 เลือกตามต้องการ 91 สำหรับยื่นภาษีเงินเดือนจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ส่วน 90 สำหรับยื่นรายได้พิเศษเช่นรับงาน freelance เป็นต้น)
  4. รันไฟล์ setup โดยห้ามลงที่ drive C เพราะจะเจอ UAC ของ windows วุ่นวาย ให้เลือกลงที่ drive อื่นจะง่ายกว่าเยอะ เช่น D:\Rdinet91
  5. setup เสร็จเรียบร้อยแล้วก็เปิดโปรแกรมขึ้นมา ทีนี้ก็จะพบปัญหาเพราะมันฟ้องว่า The most common reason the Cryst32.ocx will not register is that it is missing one or more dependencies. (อาจเป็นไฟล์อื่นที่ไม่ใช่  Cryst32.ocx แต่ก็จะขึ้นประมาณนี้)
  6. เปิด start menu ขึ้นมาพิมพ์ว่า Command Prompt แล้วคลิกขวาที่เมนู Command Prompt เลือก Run as Administrator
  7. เปิด folder ที่เรา install โปรแกรมไว้ (ถ้าทำตามมาแต่ต้นก็คือ D:\Rdinet91 หรือ path ที่คุณเลือกไว้ตอนแรก)
  8. หาไฟล์  Cryst32.ocx ที่อยู่ในนัั้น แล้ว copy ไปไว้ที่ C:\Windows\System32\ และสำคัญมาก หากคุณใช้ Windows 7 เวอร์ชั่น 64 bit คุณจะต้อง copy ไฟล์เดียวกันนี้ไปไว้ที่ C:\Windows\SysWOW64 ด้วย (ถ้ามีอยู่แล้วไม่ต้อง copy ทับ) วิธีสังเกตง่ายๆ ว่า Windows ของคุณเป็น 64 bit หรือไม่ลองเปิด C:\ แล้วดูว่ามี Program Files และ Program Files (x86) หรือไม่ ถ้ามีทั้งคู่แสดงว่าเป็น 64 bit แต่ถ้ามีแค่ Program Files อย่างเดียวแสดงว่าเป็น 32 bit ครับ
  9. พิมพ์ใน Command Prompt ว่า
    regsvr32 c:\windows\system32\crystl32.ocx
  10. ถ้าสำเร็จจะขึ้นข้อความ DllRegisterServer in c:\Windows\system32\crystl32.ocx succeeded ยินดีด้วยครับ :) ข้ามไปข้อ 16 ได้เลย
  11. แต่ถ้ามันยังฟ้องว่าหาไฟล์  crystl32.ocx ไม่เจอ (แบบผม) คุณต้องทำเพิ่มดังนี้ โดยไปที่ windows\systems32 แล้ว search ดูว่ามีไฟล์เหล่านี้ครบหรือเปล่า
    • CRYSTL32.OCX
    • ADVAPI32.DLL
    • COMCTL32.DLL
    • COMDLG32.DLL
    • CRPE32.DLL
    • GDI32.DLL
    • IMPLODE.DLL
    • MFC42.DLL
    • MSVCRT.DLL
    • MSVCRT20.DLL
    • OLE32.DLL
    • OLEAUT32.DLL
    • OLEDLG.DLL
    • OLEPRO32.DLL
    • USER32.DLL
    • VERSION.DLL
  12. ไฟล์ที่กล่าวมาทั้งหมดด้านบนลองดูในโฟลเดอร์ที่เรา setup โปรแกรมก่อนว่ามีหรือเปล่า บางตัวจะมีอยู่แล้วแต่บางตัวก็ไม่มี ให้ไปดาวน์โหลดเพิ่มได้ที่  http://www.dll-files.com ส่วนไฟล์ Crystal32.ocx ถ้าลองใส่ไฟล์ dll ทั้งหมดด้านบนแล้วยังไม่ได้ ลองไปดาวน์โหลด  Crystal32.ocx  มาจาก ocxdump.com แทนใส่ที่เดิม
  13. ไฟล์ที่กล่าวไว้ในข้อ 12 ทั้งหมดต้อง copy ลง   C:\Windows\System32\  ทั้งหมด และ หากคุณใช้ Windows 7 เวอร์ชั่น 64 bit คุณจะต้อง copy ไฟล์เดียวกันนี้ไปไว้ที่ C:\Windows\SysWOW64 ด้วย (ถ้ามีอยู่แล้วไม่ต้อง copy ทับ) เช่นเดิม
  14. ทดลองพิมพ์ใน command prompt ใหม่ว่า
    regsvr32 c:\windows\system32\crystl32.ocx
  15. ลองเปิดโปรแกรมใหม่อีกรอบ ถ้ายังพบคำเตือนแบบเดิมอีกให้ย้อนกลับไปทำข้อ 7-15 ใหม่โดยเปลี่ยนชื่อไฟล์จาก crystl32.ocx เป็นชื่อไฟล์อื่นๆ ที่มันถามหาว่า Missing ทำแบบนี้วนเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มี error ขึ้นและเปิดโปรแกรมได้สำเร็จ
  16. ทิ้งท้ายคือ ภงด.90 ถ้าเป็นรายได้ freelance ให้กรอกช่องมาตรา 40 (2) ที่เขียนว่า เบี้ยประชุม ค่านายหน้า ฯลฯ นั่นแหละครับ ใช้ได้ครอบคลุมแทบทุกกรณี

เหนื่อยยากมากครับ กว่าจะ setup สำเร็จ ทีนี้มาลองดู process การยื่นภาษีบ้างว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง สำหรับผมเป็นนายจ้างมีสองแบบให้เลือกคือยื่นแบบบุคคลธรรมดา แทนพนักงานทุกคน หรือยื่นแบบนายจ้างยื่นแทน ซึ่งจากการสอบถามกรมสรรพากร เค้าบอกว่าถ้าเป็นยื่นนายจ้างยื่นแทนเนี่ย ไปยื่นเอกสารที่กรมสรรพากรก่อนว่ามีลูกจ้างใครอะไรบ้าง ลดหย่อนอะไรบ้าง รายได้เท่าไหร่โดยละเอียดก่อน จึงจะได้ account มา login ผ่านเน็ตได้และต้องทำแบบนี้ทุกปีที่จะยื่น(อ่าว สุดท้ายก็ต้องเดินทางอยู่ดี) ดังนั้นเพื่อความง่าย ผมจึงเลือกยื่นแบบบุคคลธรรมดาไปเลยดีกว่า (พูดง่ายๆ ก็คือปลอมตัวเป็นพนักงานกรอกให้ทุกอย่าง) ซึ่งตรงนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรเป็นคนแนะนำมาเองว่าถ้าพนักงานไม่เยอะก็ใช้แบบนี้สะดวกกว่า จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร มาดูขั้นตอนกันดีกว่า

  1. ข้อมูลที่เราต้องขอจากพนักงานเพื่อยื่นแบบก็มีสามอย่างคือ บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน และชื่อ-นามสกุล บิดา,มารดา ตรงนี้มั่วไม่ได้เพราะมันเช็คกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ด้วยนะ
  2. เปิด  http://rdserver.rd.go.th/publish/page901_ty54.htm ด้วย Internet Explorer (เวอร์ชั่นอะไรก็ได้ เจ้าหน้าที่บอกมา) เท่านั้นเน้อ
  3. ใต้หัวข้อยื่นแบบ Online คลิกเลือก ภ.ง.ด.90 หรือ  ภ.ง.ด.91 ตามแต่รายได้ที่เกิด
  4. คลิกลงทะเบียนที่ด้านล่าง ถ้ายังไม่เคยสมัคร account มาก่อน
  5. เลือกบุคคลธรรมดา
  6. กรอกข้อมูลตามบัตรประชาชนเลยครับ และช่องบิดา, มารดาก็ใส่ไป ถ้าบิดา, มารดาเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อนมันก็จะฟ้องว่าชื่อไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ อาจต้องใช้ชื่อเก่าก่อนเปลี่ยน (ตรงนี้เดาว่าเขาใช้ชื่อตามใบเกิด)
  7. สำหรับช่องโทรศัพท์และ email ก็ใส่เป็นของลูกจ้างได้เลย หรือจะใส่ของนายจ้างก็ได้ (ขึ้นอยู่กับว่าจะให้ใครเป็นคนจัดการเอกสาร เวลาสรรพากรโทรมาขอตรวจเอกสารเพิ่มเติม) โดยเบอร์โทรลูกจ้างสามารถเปลี่ยนเองได้ในปีภาษีถัดไปกรณีลูกจ้างลาออกภายหลัง (แก้จากหน้าแก้ไขที่อยู่) ส่วน email สรรพากรไม่ได้เอาไปทำอะไร
  8. เมื่อผ่านหน้านี้ไปก็จะถึงหน้าให้ใส่ที่อยู่ ซึ่งจะมีที่อยู่ปรากฏขึ้นมาอยู่แล้ว ลองตรวจดูว่าตรงกับในทะเบียนบ้านไหม (อาจไม่ตรงถ้ามีการย้ายทะเบียนบ้าน เป็นต้น) ก็แก้ไขให้ถูกต้อง และใส่รหัสไปรษณีย์ด้วย  (ถ้าไม่รู้รหัสเข้า http://postcode.narak.com/ )
  9. กรอกเสร็จสมบูรณ์ก็จะให้เลือกว่าจะกรอก ภงด.90 หรือ ภงด.91 ก็คลิกเข้าไป
  10. เข้าสู่หน้ากรอกภาษี ก็เลือกไฟล์ text ที่สร้างจากโปรแกรมข้างบนมาใส่เข้าไป และถามเว็บไซต์ที่สร้างรายได้ให้กับผู้ยื่น (ไม่ต้องใส่ก็ได้)
  11. เว็บจะบังคับให้ใส่หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้จ่ายเงินได้ของผู้ยื่นด้วย ก็ใส่ไป (เป็นเลข 13 หลัก ซึ่งพึ่งเปลี่ยนแปลงกฎในปีนี้)
  12. ถ้าเป็นการยื่นเพื่อขอคืนภาษี ในหน้าสุดท้ายจะมีถามว่ามีความประสงค์จะขอคืนภาษีหรือไม่ ก็เลือกมีความประสงค์จะพบ popup ให้ใส่เบอร์มือถือเพื่อว่าถ้าเช็คคืนภาษีออกแล้วจะมี SMS มาแจ้งเตือน ตรงนี้ใส่เบอร์ลูกจ้างหรือนายจ้างก็ได้เช่นกัน ตามสะดวก
  13. ถ้าเป็นการยื่นและต้องชำระภาษีเพิ่มเติม ก็จะปรากฎช่องทางจ่ายเงินมากมายให้เลือก ผมเลือก Internet Banking กับไทยพาณิชย์ครับสะดวกดี ซึ่งชำระได้ผ่านเมนูชำระเงินและ e-Bill ของเว็บ scbeasy.com
  14. หน้าสุดท้ายเมื่อต้องชำระภาษีเพิ่มเติมจะปรากฎข้อมูลสามอย่างคือ
    • เลขประจำตัวประชาชน – ใช้กรอก Customer No./Ref.1 ใน scbeasy.com
    • รหัสควบคุม – ใช้กรอก Reference No./Ref.2 ใน scbeasy.com
    • จำนวนเงินที่ต้องชำระ
  15. เสร็จแล้วครับ มันจะขึ้นว่าขอบคุณที่ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อนด้วยนะ  :)
  16. สำหรับเอกสารหลักฐานการลดหย่อนต่างๆ ในขั้นตอนยื่นไม่ต้องใช้เลยครับ เรากรอกแต่ตัวเลขเท่านั้น ถ้ามีปัญหาเจ้าหน้าที่โทรมาตามเบอร์ที่ให้ไว้เพื่อขอให้ scan เอกสารต่างๆ ส่งไปให้เขาตรวจสอบภายหลังเอง

credit:
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:www.a-tale.com/my-day/2010-/pnd91.html&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th (ต้องเข้าจาก cache เพราะเว็บจริงเดี้ยงไปแล้ว)
http://www.scriptdd.com/webtip/pnd90_2553_windows7.html
เจ้าหน้าที่สรรพากร

]]>
https://blog.levelup.in.th/2012/03/21/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-%e0%b8%a0%e0%b8%87%e0%b8%9491-90-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%9e/feed/ 1
NEC 15/5/09 : ภาษีอากร https://blog.levelup.in.th/2009/05/28/nec-15509-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3/ https://blog.levelup.in.th/2009/05/28/nec-15509-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3/#comments Wed, 27 May 2009 17:39:24 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=46 เรื่องภาษีอากรเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่ผู้ต้องการ หรือเพิ่งจัดตั้งบริษัทต้องมีความรู้ไว้ เนื่องจาก ภาษี คือค่าใช้จ่ายอย่างนึงที่ไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้ แต่สามารถลดหย่อนได้หากรู้วิธี แล้วลดค่าใช้จ่ายก็ความถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ($_$)

ปัจจุบันกฎหมายทางบัญชีได้เลื่อนขึ้นเป็น พระราชบัญญัติ แล้วซึ่งหมายความว่าความผิดทางการบัญชีตัวอย่างเช่น

  • Nominee เพื่อหักค่าใช้จ่ายปลอม
  • ซื้อบิลเพื่อสร้างค่าใช้จ่ายปลอม
  • ปลอมบัญชี

ซึ่งมีโทษทางอาญา ซึ่งหมายถึงเข้าคุกเข้าตารางกันเลยทีเดียว ทำให้สรรพากรมีอำนาจการต่อรองมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และยิ่ง ปัจจุบันสรรพากรมีความสามารถในการตรวจเช๊คข้อมูลได้กว้างมากกว่าแต่ก่อนมาก โดย แผนก IT ของสรรพากร แข็งแกร่งขึ้นมากๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทั้ง

  • การศึกษา
  • การเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อื่นๆ

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้สรรพากรจับพวกทำเงินนอกระบบอย่าง โต๊ะบอล หรือ หวยใต้ดิน ได้มานักต่อนักแล้ว นอกจากนี้ยังมีการส่งคนลง Site ไปแอบสืบข้อมูล เช่น ส่งนักศีกษาจบใหม่ไปที่หอหัก เพื่อตรวจสอบว่ารายได้ที่แจ้งมาเท๊จจริงแค่ไหน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดา หมายถึง

หมายถึง บุคคลธรรมดา คนทั่วไปทุกๆคน รวมถึง คณะบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อไม่แสวงกำไร แต่ปัจจุบันนำมาใช้เพิ่มฐานภาษี ตัวอย่างพวกดาราจะจดไว้หลายคณะบุคคลมาก และ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  • คณะบุคคล และ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ใช้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจดได้ ซึ่งนับเป็นคนธรรมดา 1 คน ซึ่งหมายถึงหักค่าลดหย่อนได้เพิ่ม
  • สามี ภรรยา จดทะเบียน แล้วนับรวมเป็นบุคคลเดียวกัน
    • รวมเงินได้นอกเหนือจากเงินเดือน จากภรรยาไปที่สามี ซึ่งทำให้ ฐานภาษีสูงขึ้น แต่แลกด้วยการหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิม จึงมีหลายคนหย่า/ไม่จดทะเบียน เพื่อประโยชน์ทางภาษี

เงินได้ที่พีงประเมิน

  • รายได้ทั่วไปที่ได้จากการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า ค่าจ้าง
  • รวมถึง ผลประโยชน์ที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ เช่น ของกำนัล ของรางวัล
  • ไม่ว่าเงินนั้นจะได้จากในหรือนอกประเทศ จะต้องเสีย เสียภาษี
    • [แต่] เงินได้ต่างประเทศ (กิจการ/งาน ที่ได้จากต่างประเทศ) ให้รอหลังปีที่ต้องเสียภาษี แล้วค่อยนำเงินเข้ามาจะไม่เสียภาษีที่ไทย

ประเภทเงินได้ และ หักค่าใช้จ่าย

  • ประเภท 1 เงินเดือน หลักได้ 40% ไม่เกิน 60,000
  • ประเภท 2 ค่านายหน้า เบื้ยประชุม หลักได้ 40% ไม่เกิน 60,000
  • ประเภท 6 Freelance => หมอ/เภสัช หักได้ 60% , วิศวะ บัญชี หักได้ 30% (หรือตามจริง ซึ่งต้องมีใบเสร็จ)
  • ประเภท 7 รับเหมา ต้องมีสัมภาระนอกจากเครื่องมือ (ต้องมีรายจ่ายต่อเนื่อง เช่น การจ้างคน วางเครื่อง) หักได้ 70% (หรือตามจริง ซึ่งต้องมีใบเสร็จ)

เงินที่ได้การยกเว้น

  • เบี้ยเลี้ยงตามความจำเป็น
  • การขายสังหา โดยไม่ได้มุ่งค้า หรือ เป็น มรดก
    • เช่น เปิดท้ายเป็นครั้งคราว แต่ ถ้าเปิดทุกอาทิตย์ ถือเป้นการมุ่งค้า เลยมีการลูกเล่นเช่น สลับชื่อคนจอง
  • เงินที่ได้จากอุปการะ (เลี้ยงดู แล้วตอบแทน)
    • อาจจะต้องมีหลักฐานว่าได้อุปการะ
  • เงินที่ได้โดยเสน่หาตามธรรมเนียม ซึ่งหมายความว่า ห้ามมีจำนวนมากเกินไป เช่นใส่ซองแต่งงานทีหลายล้าน

ค่าลดหย่อน

สามารถหักค่าลดหย่อนต่างๆเหล่านี้จากฐานรายได้เรา เพื่อลดภาษีที่ต้องจ่ายได้

  • หักตนเอง 30,000 บาท อันนี้หักฟรีๆทุกคน
  • สามี/ภรรยา (30,000 บาท) , บุพการี อายุ 60 ขึ้นไป ที่ไม่มีเงินได้ (30,000 บาท) , บุตร (15,000 บาท ไม่เกิน 3) ซึ่งเหล่านี้ใช้สิทธิซ้ำซ้อนไม่ได้
  • ประกันชีวิต (100,000 บาท) [ประกันชีิวิตเท่านั้น ประกันอย่างอื่นไม่นับ] และ ประกันชีวิตบุพการี อีก 15,000 บาท
  • กองทุน LTF (5 ปีถอนได้) 15% ของรายได้  ไม่เกิน 700,000 บาท
  • กองทุน RMF (อายุเกิน 60 ปี) 15% ของรายได้ ไม่เกิน 700,000 บาท
    • แนะนำว่า ซื้อตอนหุ้นตก เพราะกองทุนแปรตามราคาหุ้น
    • ใช้เงินคนอื่นซื้อให้ก็ได้
  • บริจาค (2% ของเงินได้)
    • บริจาค รร : มีทริกอยู่ว่าให้ออกบิลเป็น “อุปกรณ์การศึกษา” จะได้หักค่าลดหย่อนได้ 200%
    • บริจาคเกี่ยวกับ กีฬา จะหักได้ 150%

อัตราภาษี

  • ภาษี = (จำนวนเงินได้ – ค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้ – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีขั้นบันได
  • <=150,000 บาท
    • 0% ฟรี~ ไม่ต้องเสียภาษี
  • 150,001 – 500,000 บาท
    • 10%
  • 500,001 – 1,000,000 บาท
    • 20%
  • 1,000,001 -4,000,000 บาท
    • 30%
  • >4,000,001 บาท
    • 37%

การชำระ

  • แบ่งการชำระตามประเภทเงินได้
    • ประเภท 1. ภงด. 91 ชำระปีละครั้ง เดือนมีนาคม
    • ประเภท 2-4. ภงด. 90 ชำระปีละครั้ง เดือนมีนาคม
    • ประเภท 5-8. ชำระปีละ 2 ครั้ง
      • ภงด. 94 เดือนกันยายน
      • ภงด. 90 จ่ายส่วนที่เหลือ หักจากที่จ่ายไปใน ภงด. 94

ภาษีจากอสังหาริมทรัพย์

  • ได้จาก มรดก , เสน่หา หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50 ของเงินได้
    • แนะนำว่า ก่อนตายขายไปก่อน จะได้ไม่โดนภาษี
  • กรณีอื่นให้หักค่าใช้จ่ายตามประราชกฤษฎีกา
  • ถ้าขายโดยไม่มุ่งค้า ไม่ต้องเสียภาษีหมายความว่าต้องถือครองไว้เป็นระยะเวลานึง
    • ทีดินเปล่า ยึดครองเกิน 5 ปี
    • ที่อยู่อาศัย ยึดครองเกิน 1 ปี
      • ดูที่ตามปีที่โอน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

นิติบุคคล หมายถึง

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัท
  • มุลนิธิ, สมาคม, กิจการร่วมค้า

การคำนวณภาษี

ภาษี = (รายได้ – ต้นทุน – ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร + ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี) x อัตราภาษี

อัตราภาษี

  • SME (ทุนจดทะเบียน น้อยกว่า 5 ล้าน)
    • <=150,000 บาท
      • 0%
    • 150,001  บาท – 1,000,000 บาท
      • 15%
    • 1,000,001 บาท – 3,000,000 บาท
      • 25%
    • >=3,000,000 บาท
      • 30%
  • ถ้าทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้าน อัตราเดียว 30%

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี

หมายถึงไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

  • ใบเสร็จไม่สมบรูณ์
  • ค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินที่กำหนด
    • ค่ารับรอง / ของขวัญ (ไม่เกิน รายได้ 1 ล้านบาท ต่อ ค่าของขวัญ 3 พันบาท)
      • ของไม่เกินชิ้นละ 2,000 บาท
      • ต้องระบุว่าส่งของให้ใครด้วย เนื่องจากสรรพากรจะไปเก็บภาษีต่อที่คนรับ
    • ค่าเสื่อม
      • รถจะหักได้ 5 ปี ปีละ 200,000บาท
      • พวก Benz/BMW ซึ่งราคาเกิน 1 ล้าน จะมีวิธีเลี่ยงไปใช้ listing (เช่าทางการเงิน) แทน
        • หักได้เดือนละ 36,000 เป็นค่าใช้จ่าย
        • เมื่อจ่ายครบ 5 ปีเป็นของบริษัท แล้ว หักค่าเสื่อมต่อได้อีก 5 ปี
      • ค่าเสื่อมของ Equipment หักได้ 5 ปี 20%
      • ค่าเสื่อมของ R&D หักได้ 40% 3 ปี
  • ค่าใช้จ่ายที่กำหนดจ่ายจากกำไร
    • ค่านายหน้า เลี่ยงด้วยการ จ่ายจากยอดเงินที่ได้รับจากใบเสร็จ
    • โบนัส เลี่ยงด้วยการ ใช้เป็น performance bonus แทน
  • เงินเดือนของผู้ถือหุ้น ที่สูงเกินความจำเป็น
  • รายจ่ายผิดรอบบัญชี ตัวอย่างเช่น แต๊เอียข้ามปี ซึ่งเป็นการจ่ายสำหรับปีที่แล้ว
    • ต้องตั้งค้างจ่ายไว้ที่เดือน 12

ภาษีมุลค่าเพิ่ม

  • VAT ไม่ต้องคิดกับบริษัทนอก ยกเว้นจะนำงานนั้นมาใช้ในไทย

การชำระ

  • ชำระปีละ 2 ครั้ง
  • ภงด. 51 เดือนสิงหาคม โดยต้องทำการประเมินภาษีที่ควรจะจ่าย
    • กันประเมินพลาดให้จ่ายเท่ากับของภาษีปีที่แล้ว + เพิ่มไป 100 บาท
  • ภงด. 50 จ่ายส่วนที่เหลือ หักจากที่จ่ายไปใน ภงด. 51
]]>
https://blog.levelup.in.th/2009/05/28/nec-15509-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3/feed/ 0