LevelUp! Studio » Grid https://blog.levelup.in.th Experience the new world. Fri, 26 May 2017 10:06:07 +0000 th hourly 1 http://wordpress.org/?v=3.8.1 [Unity] วิธีการทำให้ Grid ใน ScrollView มีระยะห่างที่ถูกต้อง https://blog.levelup.in.th/2016/02/29/unity-how-to-make-grid-in-scrollview-with-perfect-gap/ https://blog.levelup.in.th/2016/02/29/unity-how-to-make-grid-in-scrollview-with-perfect-gap/#comments Mon, 29 Feb 2016 16:55:08 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=5336 โดยปกติแล้ว Grid ก็จะมี Cell Width กับ Height ให้เพื่อกำหนดระยะห่างระหว่าง GameObject ด้านในของเรา ซึ่งถ้าเราใช้ร่วมกับ ScrollView ของด้านในจะเลื่อนไปชิดด้านบนสุด เพราะ Grid จะทำการจัดที่ให้ดูจากของที่อยู่ด้านใน

จากรูปของด้านในของเราชิดขอบบนสุดเลย

มองจาก Scene

Script ตัวลูกของเรา สั่งให้ขนาดเล็กกว่าเพื่อเว้นช่องไฟ แต่ก็ไม่ได้เว้นด้านบนแต่อย่างใด

ซึ่งถ้าเราทำการเลื่อน ScrollView ลงเพื่อให้มีพื้นที่ ก็จะพบปัญหาว่าของด้านในของเรานั้นเวลาถูกเลื่อนออกจาก Scroll View จะถูกตัดขาดก่อนที่ควรจะเป็น เพราะเราเลื่อนช่วงการมองเห็นลงมา

ขาดจ้าาา

ทีนี้ วิธีแก้ไขก็ไม่มีอะไรมาก ให้เราสร้าง UIWidget มาครอบไว้นอก ให้ระยะเต็มกินขอบไปด้วยเลย แล้ว Grid จะเว้นพื้นที่ไว้ให้เองอัตโนมัติดังรูป

สร้าง Widget ปรับขนาดให้เกินขอบ

มองจาก Scene จะเป็นแบบนี้

เป้ะ

เพียงเท่านี้ก็จะได้ Grid ที่เลื่อนได้โดยมีตำแหน่งที่สวยงามแล้วล่ะครับ

]]> https://blog.levelup.in.th/2016/02/29/unity-how-to-make-grid-in-scrollview-with-perfect-gap/feed/ 0 [Unity3D][NGUI] ScrollView && Grid https://blog.levelup.in.th/2015/05/30/unity3dngui-scrollview-grid/ https://blog.levelup.in.th/2015/05/30/unity3dngui-scrollview-grid/#comments Sat, 30 May 2015 14:51:36 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=4379 ใครทีใช้ Unity3D ร่วมกับ NGUI ก็คงจะเคยเจอปัญหาเรื่องของ ScrollView และ Grid กันมาบ้าง วันนี้ผมมาเสนอวิธีแก้ปัญหา ScrollView และ Grid ที่ผมเคยเจอครับ

ปัญหาแรกคือ เมื่อ เราสร้างลูกของ Grid แบบ Run Time แล้วสั่ง Grid.Reposition(); และตามด้วยคำสั่ง ScrollView.ResetPosition(); เราก็จะเห็นว่าลูกของ Grid ที่เราพึ่งสร้างนั้นค่อยๆเลือนไปประจำตำแหน่งของมัน

ปัญหาที่สองคือ ถ้าเราสร้างลูกของ Grid มาจำนวนน้อย หรือมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้ Grid นั้นล้นออกนอก ScrollView แล้วมันก็จะทำให้ ลูกของ Grid นั้นไปอยู่ตรงกลาง ScrollView ดังรูป
1

ปัญหาที่สามคือ เมื่อเราทำ Application หรือ Game ในหลายๆขนาดหน้าจอ ถ้าเราอยากให้ Grid ของเราอยู่ชิดข้างบนเสมอล่ะ ทำยังไงดี ก็ Grid มันไม่มี Anchor นี่นา

วิธีแก้ก็ทำตามนี้เลยครับ
ถ้าเป็น Grid แบบนี้
4
ให้ Set ค่า ScrollView ตามนี้ครับ
2
และ Set ค่า Grid ตามนี้ ซึ่งเราต้อง Add Component UIWidget ให้ Grid ด้วยมันจะได้มี Anchor ให้เราใช้ไงครับ
3

แต่ถ้าเป็น Grid แบบนี้
5
ก็ให้ Set ScrollView ตามนี้ครับ
6
และ Grid ตามนี้
7

ให้สังเกต ScrollView ตรง Content Origin นะครับ
และให้สังเกต Grid ตรง Pivot, Smooth Tween และ ขนาดของ UIWidget นะครับ

]]>
https://blog.levelup.in.th/2015/05/30/unity3dngui-scrollview-grid/feed/ 0
แฉ! (share) ข้อมูล Hosting ในต่างประเทศ (+ Cloud/Grid Hosting) https://blog.levelup.in.th/2009/10/25/%e0%b9%81%e0%b8%89-share-%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5-hosting-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8/ https://blog.levelup.in.th/2009/10/25/%e0%b9%81%e0%b8%89-share-%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5-hosting-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8/#comments Sun, 25 Oct 2009 06:27:08 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=175 สืบเนื่องจากการเตรียมตัวเปิดเกมบน Facebook ทำให้ต้องทำการศึกษาเรื่อง Server ต่างประเทศอย่างจริงจัง เนื่องจากใช้ Server เดิมๆที่มีที่ไทยไม่ได้เพราะ [Server ไทย ออกนอกมันห่วยแตก] – -” และลูกค้าส่วนใหญ่ของ Facebook ก็อยู่ในแถบโลกที่เจริญแล้ว (Internet เร็ว) หากมาให้ทนเข้าเวปเกมช้าๆคงไม่ work เท่าไหรแน่ :-D เพราะปัจจัยหลักอันนึงของ Web game คือ “ความเร็วในการตอบสนอง” รวมทั้ง “ความเสถียรของระบบ” ไม่งั้นลูกค้าก็หนีหายหมด

เอาหล่ะ! ว่าแล้วก็มาเริ่มเข้าประเด็นกันเลยดีกว่า :-D

ทำไมถึงไม่ใช้ Server ตั้งที่ไทย

1. ลูกค้าหลักๆ (US , UK , Europe) เข้าถึง Server ในประเทศเราได้ช้ามาก

2. ผู้บริการในไทยมักเจอปัญหาเรื่องความไม่เสถียรอยู่บ่อยมาก Server ล่ม ถูกยิง เจอไวรัส เป็นประจำ

3. ในไทยยังไม่ให้บริการ Server ประสิทธิภาพสูง Grid/Cloud

ประเภทของ Server ต่างประเทศ

1. Over sale hosting (โฆษณาเกินจริง)

ตัวอย่างเช่น

HostMonster – http://www.hostmonster.com/

Blue Host - http://www.bluehost.com/

Hostgator – http://www.hostgator.com/

และอื่นๆที่มีอยู่ล้นตลาด โดย Host ประเภทนี้มักจะโฆษณาให้ดูเว่อร์ๆไว้ เช่น พื้นที่/Bandwidth Unlimit , ใช้กี่ Account/Domain ก็ได้ โดยราคาจะอยู่ที่ราคา 5$ – 10$ ต่อเดือน (ซึ่งราคานี้ในไทยถือว่าแพงแล้ว)

จากหน้าฉากที่บอกว่าใช้เท่าไหรก็ได้ แต่เบื้องหลังมักจะมีข้อยกเว้นอยู่ คือ โดยส่วนใหญ่ Host พวกนี้จะจำกัดการใช้ CPU (ซึ่งมีทั้งบอกและไม่บอก) ถ้าดีหน่อย อย่างมากก็จะปิดเว็ปเราไปซักพัก แต่เท่าที่อ่านมา บางคนก็เจอถึงขั้นปิด Account ไปเลยก็มี

และ Host พวกนี้มักจะมีพวก Coupon ที่ใช้ลดราคาอยู่เสมอๆ ซึ่งลดจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง หรือเงื่อนไขเยอะมากบ้าง ต้องลองศึกษาดุครับ โดยเวปประจำที่ผมเข้าก็เป็น RetailmeNot ซึ่ง Coupon เยอะมาก และมี User feedback ว่าอันไหนใช้ได้ไม่ได้ ทำให้เลือก Coupon ได้ง่าย

- เหมาะกับ

1. สำหรับคนที่ใช้งานปานกลาง ใช้งานที่เน้นพื้นที่เก็บข้อมูลเยอะๆ

2. เวปที่คนเข้าไปเยอะมากนัก เช่น Web portfolio , เวปส่วนตัว

- ไม่เหมาะกับ

1. เวปที่ต้องการใข้งาน Process มากๆ เช่น Game , WordPress / Webboard ที่คนเข้าเยอะ

2. เวปที่ต้องการ Customize เยอะๆ เนื่องจาก ส่วนใหญ่เวปพวกนี้จะไม่อนุญาติให้เราเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก


2. Dedicated Server / VPS (Virtual Private Server)

ตัวอย่างเช่น

Hostgator – http://www.hostgator.com/

Media Temple – https://www.mediatemple.net/

Slice Host – http://www.slicehost.com/

iWeb – http://iweb.com/

Softlayer – http://softlayer.com/

ประเภทนี้ก็มีเยอะพอๆกับแบบแรก ราคาจะอยู่ที่ช่าง 50$ – 200$ ต่อเดือน โดยเมื่อเราสมัครใช้บริการแล้วเราจะได้เครื่องส่วนตัวของเราเองมา 1 เครื่อง ซึ่งถ้าเป็น Dedicated จะเป็นแบบ Physical คือเครื่องจริงๆ ส่วนแบบ VPS จะเป็นแบบ Virtual ซึ่ง 1 เครื่องอาจจะแบ่งเป็นหลายเครื่อง Virtual อีกที


ข้อดีข้อเสียของ Dedicated และ VPS

- Dedicated ดีกว่าด้านประสิทธิภาพ เนื่องจาก VPS มี VM ที่มาจัดการระบบเป็น Overhead อีกที

- VPS มักจะถูกกว่า Dedicated

- VPS มีความยืดหยุ่นในการใช้งานกว่า เช่นเรื่อง การเปิดปิดเครื่อง การขยายขนาด / ประสิทธิภาพเคร่ือง ทำได้ในทันที

เหมาะกับ

1. ผู้มีเงินทุนพอสมควร เพราะราคาก็ไม่ถูกเท่านัก

2. ต้องพอมีความรู้ด้าน Server / Linux พอสมควร เพื่อจะได้ใช้ความสามารถเครื่องได้เต็มที่

3. เว็ปที่ต้องใช้ Process สูงๆมากๆ อย่างเช่น Game

ไม่เหมาะกับ

1. ผู้ที่ไม่ความรู้เรื่อง Server เลย

2. ผู้ต้องการความยืดหยุ่นสูงเหมือน Grid / Cloud , ต้องการเปลี่ยนโครงสร้าง Server Farm บ่อย

3. Grid Hosting / Managed Cloud hosting

ตัวอย่างเช่น

MediaTemple (gs) http://mediatemple.net/ (20$/month)

Rackspace’s Cloud site http://www.rackspacecloud.com/ (100$+/month)

Host แบบนี้ดูเผินๆจะคล้ายแบบ Hosting ทั่วไป แต่จริงๆแล้ว เบื้องหลังมันถูกรันด้วย Cloud/Gird ขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้คุณสามารถขยาย Website ของคุณได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Server มากนัก โดยทางผู้ให้บริการจะทำการจัดการไว้ให้เกือบทั้งหมดแล้ว (แต่เราก็ยังเข้าไป Customize ได้) ซึ่งข้อดีของ Host แบบนี้คือสามารถรองรับ Digg Effect / CPU Busting – ตัวอย่างเช่นเมื่อมีคนเข้าเวปเรามากอย่างไม่คาดคิด จากเวปไซต์ต่างๆเช่นจาก Digg.com ซึ่งหากเป็น Host ทั่วไปเราก็จะโดนแบน Account ไปหรือไม่ Server ก็ล่มไปเลย แต่หากเป็น Host แบบนี้มันจะอนุญาติให้เราใช้ CPU อันทรงพลังของ Cloud/Grid ได้ชั่วคราว ทำให้เวปเราสามารถใช้งานได้ปกติได้ในช่วงที่มีคนเข้ามหาศาล โดยที่เราไม่จำเป็นต้องหา Server ที่เกินความจำเป็น เพราะหลังจากเกิด Digg Effect จำนวนคนก็จะกลับมาสู่สภาวะปกติอยู่ดี

เหมาะกับ

1. ผู้ที่ต้องการความเสถียรของ เว็ปไซต์ สูงมากๆ

2. สามารถจำกัดการใช้งาน เว็ปไซต์ ได้พอสมควร เนื่องจาก Host ประเภทนี้มักจะมี Limit ด้านการใช้ CPU / Bandwidth ไว้ ซึ่งหากใช้เกินกว่าที่กำหนด ก็จะคิดเพิ่มตามจริง

ไม่เหมาะกับ

1. เว็ปไซต์ ที่กิน Process มากๆ เพราะ CPU limit มักจะไม่พอการใช้งาน (รวมทั้ง BandWidth ด้วย)

2.ผู้ที่ต้องการ ออกแบบโครงสร้าง Server Farm เอง


4. Cloud Hosting

ตัวอย่างเช่น

Amazon EC2 – http://aws.amazon.com/ec2/

Gogrid – http://www.gogrid.com/

Joyent – http://www.joyent.com/

Softlayer’s Cloud layer – http://softlayer.com/

Rackspace Cloud - http://www.rackspacecloud.com/cloud_hosting_products/servers

Hosting ที่กำลังเป็น Trend ในยุคหน้า เทคโนโลยี Cloud กำลังเป็นที่จับตามองของผู้ที่ต้องการ Server ที่ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเหมาะกับทั้งเวปขนาดใหญ่มากๆ หรือ เวปขนาดกลางๆ เนื่องจาก Slogan หลักของ Cloud hosting ที่นิยมใช้กันคือ “Pay as you go!” หรือว่า จ่ายเท่าที่ใช้ โดยมีทั้งเป็น ต่อชั่วโมง / ต่อเดือน คิดตาม CPU / ตาม Bandwidth ตามแต่ละเจ้า ซึ่งรูปแบบการคิดเงินยังไม่ค่อยเป็นมาตราฐานมาก เนื่องจากตลาดนี้ค่อนข้างใหม่

จุดเด่นของ Cloud Hosting อีกอย่างคือ คุณสามารถจำลองรูปแบบ Server Farm ของคุณเองบน Cloud ได้อย่างง่ายดาย เพียงไม่กี่คลิกคุณก็จะได้เครื่อง Web server / Database server / Load Balance เข้ามาในระบบ Cloud แล้ว เหมาะแก่การลองทดสอบโครงสร้างของ Server Farm สำหรับ Website ขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ Web server หลายตัว , Database Server แบบ Replicate , มี Load balance , มี Cloud storage และอื่นๆ ได้ โดยคุณเสียเงินตามที่คุณได้ใช้จริงๆเท่านั้น

เหมาะกับ

1. ผู้ที่ต้องการความเสถียรของ เว็ปไซต์ สูงมากๆ , กิน Process มากๆ

2.ผู้ที่มีกำลังจ่ายพอสมควร โดยขึ้นกับปริมาณการใช้งานจริง

3. ผู้ที่อยากศึกษาระบบ Cloud และ การทำ Server Farm

ไม่เหมาะกับ

1. เว็ปไซต์ขนาดเล็ก และ กลาง ทั่วไปๆ

2. เว็ปไซต์ที่ต้องการ Bandwidth สูงมากๆ กว่า 2 TB ต่อเดือน (Direct Download)


5. CDN (Content Delivery Network)

ตัวอย่างเช่น

Softlayer’s Cloud layer CDN – http://softlayer.com/

เนื่องจาก ความช้าของ Website ส่วนใหญ่แล้วจริงๆเกิดการส่งข้อมูล ภาพ / Javascript / Css ที่ช้า ทำให้เว็ปเกิดอาการหน่วง ทำให้คสเข้าเวปเกิดอาการ “เซง” อีกทั้ง Internet เริ่มแพร่หลายในประเทศสารขัณฑ์ เอ้ย เผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งเนตภายในประเทศนั่นย่อมเร็วกว่าต่างประเทศแน่นอน

จึงทำให้เกิดบริการนี้ขึ้น ซึ่งระบบ CDN (Content Delivery Network) จะทำงานโดยนำไฟล์ข้อมูลของแจกกระจายไปยัง Server ต่างๆทั่วโลกอัตโนมัติ และเมื่อผู้ใช้เข้ามาดึงข้อมูลทาง CDN ก็จะเลือก Server ที่ใกล้กลับผู้ใช้คนนั้นที่สุดให้ทันที

เหมาะกับ

1. เว็ปไซต์ที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงานสูง

2. เว็ปไซต์ที่เน้นให้บริการคนทั่วโลก

ไม่เหมาะกับ

1. เว็ปไซต์ขนาดเล็ก และ กลาง ทั่วไปๆ

2. เว็ปไซต์ที่ต้องการ Bandwidth สูงมากๆ

จริงๆมีข้อมูลละเอียดกว่านี้ แต่เนื่องเวลาไม่เอื้ออำนวย (นี่ก็เกือบ 2 ชั่วโมงแล้ว – -) ขอยกยอดไปก่อนหล่ะกันครับ >w<  ใครสนใจข้อมูลเพิ่มก็ลองเข้า WebhostingTalk หาข้อมูลดูครับ เวปนี้ข้อมูลแน่นใช้ได้เลย (แต่ข้อมูลเรื่อง Cloud hosting ยังน้อย เพราะยังใหม่มาก)

]]>
https://blog.levelup.in.th/2009/10/25/%e0%b9%81%e0%b8%89-share-%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5-hosting-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8/feed/ 5